
กระดูกคอเสื่อม หมายถึง กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า “กระดูกคอ”) มีการเสื่อมตามอายุ ซึ่งพบบ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ ทำให้มีอาการปวดต้นคอ และอาจมีอาการของรากประสาทถูกกดร่วมด้วย
สาเหตุ
เกิดจากกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอมีการเสื่อมตามอายุ ทำให้ผิวข้อกระดูกสันหลังมีหินปูนหรือปุ่มงอก (osteophyte) ประกอบกับหมอนรองกระดูกมีการเสื่อมและบางตัวลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อต่อแคบลง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย และอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะรุนแรงจนถึงขั้นมีการกดถูกรากประสาทหรือไขสันหลัง
ผู้ที่เคยมีประวัติบาดเจ็บที่บริเวณคอมาก่อน มีอาชีพที่มีการเคลื่อนไหวคอมากหรือมีแรงเสียดสีซ้ำ ๆ ที่กระดูกคอ และการสูบบุหรี่ อาจมีส่วนกระตุ้นให้กระดูกสึกกร่อนและเสื่อมมากขึ้น
ผู้ที่เคยมีประวัติบาดเจ็บที่บริเวณคอมาก่อน มีอาชีพที่มีการเคลื่อนไหวคอมากหรือมีแรงเสียดสีซ้ำ ๆ ที่กระดูกคอ และการสูบบุหรี่ อาจมีส่วนกระตุ้นให้กระดูกสึกกร่อนและเสื่อมมากขึ้น
อาการ
ผู้ป่วยที่มีกระดูกคอเสื่อมส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสีขณะตรวจเช็กสุขภาพ (การถ่ายภาพรังสีที่บริเวณคอในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มักพบว่ามีการเสื่อมของกระดูกคอเป็นส่วนใหญ่)
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยต้นคอเป็นครั้งคราว บางครั้งอาจปวดนานเป็นแรมเดือนแล้วค่อย ๆ ทุเลาไป หรืออาจมีอาการปวดคอเรื้อรัง
ในรายที่มีการกดถูกรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือ ซึ่งมักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนน้อยที่อาจเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) อาการจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวคอในบางท่า เช่น แหงนหน้า มองที่สูง ก้มเขียนหนังสือ ใช้ภาษาคอในการสื่อสาร (สั่นศีรษะ พยักหน้า) เป็นต้น และเมื่อปรับคอให้อยู่ตรง ๆ อาการปวดจะทุเลาหรือหายไป
บางรายอาจมีอาการเดินโคลงเคลง เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการเห็นบ้านหมุนชั่วขณะเวลาเงยศีรษะไปข้างหลัง
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยต้นคอเป็นครั้งคราว บางครั้งอาจปวดนานเป็นแรมเดือนแล้วค่อย ๆ ทุเลาไป หรืออาจมีอาการปวดคอเรื้อรัง
ในรายที่มีการกดถูกรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือ ซึ่งมักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนน้อยที่อาจเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) อาการจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวคอในบางท่า เช่น แหงนหน้า มองที่สูง ก้มเขียนหนังสือ ใช้ภาษาคอในการสื่อสาร (สั่นศีรษะ พยักหน้า) เป็นต้น และเมื่อปรับคอให้อยู่ตรง ๆ อาการปวดจะทุเลาหรือหายไป
บางรายอาจมีอาการเดินโคลงเคลง เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการเห็นบ้านหมุนชั่วขณะเวลาเงยศีรษะไปข้างหลัง
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจมีการฝ่อตัวและการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ
ถ้าหากมีการกดทับของไขสันหลัง ก็อาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ถ่ายหรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้
ถ้าหากมีการกดทับของไขสันหลัง ก็อาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ถ่ายหรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้
ระยะแรกอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน ต่อมาจะพบว่ากล้ามเนื้อแขนและมือฝ่อตัว อ่อนแรงและมีอาการชา รีเฟล็กซ์ของข้อศอกและข้อมือน้อยกว่าปกติ
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการเอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography)
ระยะแรกอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน ต่อมาจะพบว่ากล้ามเนื้อแขนและมือฝ่อตัว อ่อนแรงและมีอาการชา รีเฟล็กซ์ของข้อศอกและข้อมือน้อยกว่าปกติ
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการเอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography)
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้
ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มาก อาจให้การรักษาโดยการใส่ “ปลอกคอ” ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซิแคม นาโพรเซน) และฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคอ
บางรายอาจต้องรักษาด้วยการใช้น้ำหนักดึงคอ
ในรายที่เป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการกดไขสันหลัง อาจต้องผ่าตัดเพื่อขจัดการกดทับและป้องกันมิให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น หลังผ่าตัดอาการปวดจะทุเลา และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อน (เช่น แขนขาอ่อนแรง) หากเป็นอยู่นานก็อาจไม่ทุเลาหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มาก อาจให้การรักษาโดยการใส่ “ปลอกคอ” ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซิแคม นาโพรเซน) และฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคอ
บางรายอาจต้องรักษาด้วยการใช้น้ำหนักดึงคอ
ในรายที่เป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการกดไขสันหลัง อาจต้องผ่าตัดเพื่อขจัดการกดทับและป้องกันมิให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น หลังผ่าตัดอาการปวดจะทุเลา และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อน (เช่น แขนขาอ่อนแรง) หากเป็นอยู่นานก็อาจไม่ทุเลาหลังผ่าตัด
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีอาการปวดต้นคอ และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นกระดูกคอเสื่อม/กระดูกคองอกกดรากประสาท ควรดูแลตนเอง ดังนี้
เมื่อตรวจพบว่าเป็นกระดูกคอเสื่อม/กระดูกคองอกกดรากประสาท ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- ขณะมีอาการปวดคอให้ใส่ปลอกคอช่วยพยุง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
- หมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
- ออกกำลังกายด้วยการเดิน และงดการออกกำลังกายที่มีการกระเทือนต่อกระดูกคอ เช่น การวิ่งเหยาะ
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระดำ ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด
การป้องกัน
ความเสื่อมของกระดูกคอเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามอายุ ยากที่จะป้องกันได้ แต่อาจชะลอด้วยการปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่สูบบุหรี่
- หมั่นออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว หรือว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการกระเทือนต่อกระดูกคอ
- บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
- ระวังป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณคอ หรือเกิดแรงเสียดสีซ้ำ ๆ ที่กระดูกคอ
ข้อแนะนำ
1. อาการปวดคอและปวดร้าวลงมาที่แขน นอกจากกระดูกคอเสื่อมแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน เนื้องอกไขสันหลัง เป็นต้น
2. อาการปวดคอจากกระดูกคอเสื่อม หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาการอาจคงที่หรือดีขึ้นได้เอง หรืออาจเลวลง จนในที่สุดอาจมีการกดรากประสาทและไขสันหลังจนเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
2. อาการปวดคอจากกระดูกคอเสื่อม หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาการอาจคงที่หรือดีขึ้นได้เอง หรืออาจเลวลง จนในที่สุดอาจมีการกดรากประสาทและไขสันหลังจนเกิดภาวะแทรกซ้อนได้